แชร์ 7 เทคนิค ขายสินค้า - อาหาร ตลาดนัด ขั้นเทพ 

 

วิธีที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมการซื้อของคนในพื้นที่

ควรลงพื้นที่ศึกษาด้วยตัวเองก่อนทำการค้าขายในทำเลนั้นๆ เพื่อดูว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นใครมีพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยอย่างไร เพื่อที่จะได้หาสินค้าบริการได้ตรงตามความต้องการ
รวมถึงศึกษาคู่แข่งโดยรอบ หาจุดเด่นที่แตกต่างเพื่อแบ่งฐานลูกค้า

วิธีที่ 2 ป้ายร้าน สำคัญ

แม้วิธีนี้จะดูเป็นวิธีที่ค่อนข้างเก่า ดั้งเดิม แต่ก็ยังคงใช้ได้อยู่ การทำป้ายร้าน โลโก้ สโลแกน ล้วนทำให้เกิดเป็นที่จดจำได้ง่าย ดังนั้นผู้ประกอบการอย่ามองข้ามขั้นตอนนี้เด็ดขาดอาจจะต้องวางแผนในการทำป้ายโฆษณาด้วย ไม่ว่าจะเป็นใบปลิว แผ่นพับ หรือป้ายโฆษณา เพื่อช่วยควบคุมเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่าย

วิธีที่ 3 กระตุ้นยอดขาย ด้วยโปรโมชั่น

อีก 1 ช่องทางที่จะทำให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าของเราได้มากขึ้น การจัดโปรโมชั่นไม่จำเป็นต้องลดราคาเพียงอย่างเดียว ควรตั้งเป้าหมายก่อนว่าต้องการอะไรจากโปรครั้งนี้ เช่น ต้องการให้ซื้อซ้ำก็จัดบัตรสะสมแต้มไปหรือต้องการให้ลูกค้าเห็นแบรนด์และสินค้าเรามากๆ ก็เลือกโปรกดไลค์ กดแชร์​ ผ่านช่องทางออนไลน์หรือการสร้างความประทับใจให้ลูกค้า เช่น การจัดโปรโมชั่นวันเกิด วันสำคัญต่างๆ

วิธีที่ 4 เสริมด้วยตลาดออนไลน์ต้องมา

ในยุคที่ผู้คนติดต่อสื่อสารผ่านทางออนไลน์การทำแผนโปรโมททางช่องทางออนไลน์ถือเป็นสิ่งสำคัญมากร้านอาหารแทบทุกร้านทำการตลาดออนไลน์ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Facebook, Instagram, Line Official Account หรือ YouTube ควรมีการอัปเดตอยู่เสมอ

วิธีที่ 5 เพิ่มช่องทางขายทางออนไลน์

ยิ่งในช่วงโควิดแบบนี้ ผู้คนคงไม่อยากออกไปจับจ่ายใช้สอยด้วยตัวเองสักเท่าไร ดังนั้นการเพิ่มช่องทางขายในออนไลน์ก็เป็นประโยชน์ไม่น้อย ไม่ว่าคุณจะไลฟ์สด โพสต์ออร์เดอร์ตามกลุ่มหรือ ให้แอปพลิเคชั่น Delivery เป็นตัวกลางล้วนทำให้สินค้าของคุณเป็นที่รู้จักและมีโอกาสเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น

วิธีที่ 6 ทำให้สินค้าได้มาตรฐาน เป็นที่พูดถึงและจดจำ

ถึงแม้คุณจะทำตาม 5 ข้อด้านบนอย่างครบถ้วนแล้ว แต่สิ่งสำคัญคือตัว Product ของคุณที่ต้องได้มาตรฐาน คุ้มค่า คุ้มราคา ควรแก่การเข้าถึงจุดนี้จะทำให้สินค้าของคุณเข้าไปอยู่ในลิสต์ของลูกค้าได้ระยะยาว

วิธีที่ 7 ระมัดระวัง ในการขายสินค้าตามกระแส

อย่าลืมว่า อะไรก็ตามที่อยู่ในกระแส มักจะ มาไว ไปไว การเลือกเป็นพ่อค้าแม่ค้าอะไรที่เป็นกระแสมักจะมีคนแห่ขายกันจนเกลื่อน เมื่ออุปสงค์มากกว่าอุปทาน ลูกค้าก็รู้สึกเบื่อที่จะซื้อหรือมีตัวเลือกที่หลากหลายมากกว่าไม่ควรทุนสต็อกสินค้าตามกระแสมาจนมากเกินไป เมื่อกระแสนั้นเปลี่ยนไป สินค้าที่สต็อกมาก็ยังขายไม่ได้ จนอาจกลายเป็นการ "จมทุน" นั่นเอง

 

อ่านบทความอื่นๆ : 3 เทคนิกเพิ่มยอดขาย โดยไม่ต้องเพิ่มราคา | สาระน่ารู้